ตารางแสดงเนิ้อที่ ผลผลิต ผลผลิตต่อไร่ ราคาและมูลค่าผลผลิต ปี 2557-2562 | |||
ลำดับ | ปี | เนื้อที่เพาะปลูก(ไร่) | ผลผลิต(ตัน) |
1 | 2557 | 0 | 0 |
ตารางแสดงราคาเฉลี่ยระหว่างปี 2557-2562 | |||
ลำดับ | ปี | ราคาเฉลี่ยต่อปี (บาท/กก.) |
ตารางแสดงปริมาณ และมูลค่าส่งออก ระหว่าง ปี 2557-2562 | |||
ลำดับ | ปี | ปริมาณ (กก.) | มูลค่า(บาท) |
พื้นที่ปลูกขมิ้นชันในประเทศไทยมีประมาณ 7,300 ไร่ จำนวนเกษตรกรประมาณ 1,600 ครัวเรือน แหล่งปลูกสำคัญคือ สระแก้ว ปราจีนบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครราชสีมา สุราษฎร์ธานี พังงา และนครศรีธรรมราช ฤดูผลผลิตอยู่ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมของทุกปี (ผลผลิตออกในช่วงนี้ร้อยละ 30 ร้อยละ 50 และร้อยละ 20 ระหว่างเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม ตามลำดับ) ผลผลิต ณ ปี 2557 รวมประมาณ 7,627 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 2.14 ตันสดต่อไร่ ต้นทุนการผลิตไร่ละ 8,307 บาท ผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับหากขายเป็นหัวสดประมาณไร่ละ 4,800 บาท แต่ราคาที่ขายได้เฉลี่ยอาจขึ้นไปตั้งแต่ 18 บาทต่อกิโลกรัม จนถึง 12,000 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นกับว่าขายในรูปใด
กว่าร้อยละ 98 ของผลผลิตขมิ้นชันในประเทศไทยเป็นการผลิตเพื่อใช้ในประเทศ และส่งออกเพียงประมาณร้อยละ 2 สำหรับตลาดในประเทศ แยกเป็นการใช้บริโภคผสมในอาหารและเครื่องเทศเกือบร้อยละ 95 และใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมยาเพียงร้อยละ 2 ตารางที่ 3.20 แสดงข้อมูลยาสมุนไพรที่มีใช้ในสถานพยาบาลของรัฐในประเทศไทยทั้งที่สถานบริการผลิตได้เอง และซื้อมาใช้ พบว่า ขมิ้นชันเป็นยาสมุนไพรที่มีการสั่งจ่ายในสถานพยาบาลของรัฐมากที่สุดเป็นลำดับที่สองรองจากยาอมมะแว้ง ตารางที่ 3.20 ยาสมุนไพรที่มีใช้ในสถานบริการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554-2557 หน่วย: จำนวนครั้ง
อันดับ | ชื่อยา | ปีงบประมาณ | |||
2554 | 2555 | 2556 | 2557 | ||
1 | อมมะแว้ง | 290,042 | 1,227,434 | 1,376,243 | 1,399,892 |
2 | ขมิ้นชัน | 145,515 | 526,312 | 445,551 | 481,679 |
3 | ฟ้าทะลายโจร | 127,836 | 355,167 | 276,304 | 312,371 |
4 | ไพลจีซาล | 32,791 | 128,878 | 233,045 | 248,042 |
5 | แก้ไอมะขามป้อม | 12,064 | 134,768 | 104,308 | 183,297 |
6 | มะแว้ง | 51,315 | 208,943 | 144,798 | 154,360 |
7 | น้ำเชื่อมแก้ไอมะขามป้อม | NA | NA | 84,717 | 146,290 |
8 | มะขามแขก | 15,935 | 42,249 | 71,931 | 123,515 |
9 | ไพล | 34,482 | 116,898 | 87,485 | 122,421 |
10 | แก้ไอผสมมะขามป้อมสูตรตำรับที่ 1 | NA | NA | NA | 111,309 |
11 | ประสะมะแว้ง | 58,753 | 169,251 | 53,214 | 100,210 |
12 | พริก | 24,169 | 54,049 | 64,823 | 85,887 |
13 | เถาวัลย์เปรียง | 20,720 | 37,218 | NA | 66,515 |
14 | ลูกประคบสมุนไพรร้านหมอยาไทย 101 | NA | NA | 59,942 | 65,806 |
การส่งออกและนำเข้าขมิ้นชัน ระหว่างปี 2555-2557
ปี | การส่งออก | การนำเข้า | ||
ปริมาณ (ตัน) | มูลค่า (ล้านบาท) | ปริมาณ (ตัน) | มูลค่า (ล้านบาท) | |
2555 | 103.7 | 7.4 | 326.0 | 17.8 |
2556 | 36.3 | 6.4 | 226.2 | 11.8 |
2557 | 40.8 | 6.1 | 474.2 | 10.9 |
ประเทศคู่ค้าสำคัญ | ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อังกฤษ ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน | อินเดีย เมียนมาร์ | ||
หมายเหตุ | * มีการส่งออกในรูปแบบน้ำมันขมิ้นชัน แต่ไม่มีการจัดเก็บเป็นพิกัดศุลการกร |
การซื้อขายขมิ้นชันภายในประเทศมี 5 รูปแบบ คือ หัวสด ราคาที่เกษตรกรขายได้ในปี 2557 ประมาณ 15 บาทต่อกิโลกรัม (พันธุ์พื้นเมือง) และ 18 บาทต่อกิโลกรัม (พันธุ์แดงสยาม) หัวแห้งทั้งหัว 50-60 บาทต่อกิโลกรัม (พันธุ์พื้นเมือง) และ 60-70 บาทต่อกิโลกรัม (พันธุ์แดงสยาม) หัวหั่นตากแห้ง 100 บาทต่อกิโลกรัม (พันธุ์พื้นเมือง) และ 100-120 บาทต่อกิโลกรัม (พันธุ์แดงสยาม) ผงขมิ้นชันแห้ง 150-180 บาทต่อกิโลกรัม (พันธุ์พื้นเมือง) และ 180-200 บาทต่อกิโลกรัม (พันธุ์แดงสยาม) และน้ำมันขมิ้นชัน ราคาเฉลี่ย 12,000 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเมื่อนำไปสกัดเป็นแคปซูลสารสกัดจากขมิ้นชันแล้วมีจำหน่ายในประเทศไทยราคาประมาณ 360-500 บาทต่อกระปุกแคปซูล[1] [1]ที่มา:www.greenclinic.in.th
ขมิ้นชันเป็นสมุนไพรที่ไทยมีศักยภาพในการผลิตสูง และมีการใช้เชิงพาณิชย์ในหลายด้าน เดิมเพื่อบริโภคเป็นอาหารและเครื่องเทศเป็นหลัก โดยนิยมใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่หรือปลาทอดขมิ้น เป็นต้น ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์สรรพคุณของขมิ้นชันตามการใช้แบบโบราณ พบว่า มีสรรพคุณ เช่น ทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม รวมทั้งมีการค้นพบสรรพคุณใหม่ๆ ของขมิ้นชันอีกมาก เช่น การป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด การชะลอความแก่ การเป็นสารต้านมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ ขมิ้นชันจึงสามารถพัฒนาเข้าสู่อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายประเภท ได้แก่ ยา เช่น ลดกรด รักษาแผล ลดอาการอักเสบ อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องสำอาง เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่ ผลิตภัณฑ์สปาและลูกประคบ ยาทากันยุง ส่วนผสมในอาหารสัตว์ ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น
อุปสรรคทางการค้ายาสมุนไพรในต่างประเทศยังมีอยู่มาก ทั้งความยุ่งยากในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ (ค่าใช้จ่าย รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ใบอนุญาตจัดจำหน่าย รวมถึงความรู้ความเข้าใจของผู้บริโภคในต่างประเทศเกี่ยวกับสรรพคุณของยาสมุนไพรไทย เนื่องจากผู้บริโภคในต่างประเทศอาจมียาสมุนไพรท้องถิ่นของตน เช่น จามูของประเทศอินโดนีเซีย หรือสมุนไพรจีน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอาจมีข้อกำหนดอื่นๆ เป็นการเฉพาะของแต่ละประเทศ เช่น การกำหนดให้ผู้ส่งออกของประเทศอื่นๆ รวมถึงไทยต้องส่งออกผ่านตัวแทนโรงงานผู้ผลิตยาท้องถิ่น โดยมีสัญญาว่าจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้โรงงานผู้ผลิตยาท้องถิ่นสามารถผลิตยาเองได้เมื่ออายุทะเบียนตำรับยาหมดไป หรือเลือกตั้งโรงงานผลิตยาในประเทศนั้นๆ (อินโดนีเซีย) เป็นต้น